วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์




   

เวลาเปิดทำการ

ช่วงเปิดภาคการศึกษา
จันทร์ - ศุกร์     เวลา 08.30 น. - 21.00 น.  
เสาร์ - อาทิตย์   เวลา 10.00 น. - 18.00 น.  
ช่วง 3 สัปดาห์ก่อนสอบและสอบปลายภาค

จันทร์ - ศุกร์     เวลา 08.30 น. - 24.00 น.
เสาร์ - อาทิตย์   เวลา 10.00 น. - 24.00 น.  
   
ช่วงปิดภาคการศึกษา

จันทร์ - ศุกร์     เวลา 08.30 น. - 16.30 น.  
เสาร์ - อาทิตย์  วันหยุดนักขัตฤกษ์ ปิดทำการ


1.บริการสารสนเทศทันสมัย (Current Awareness Services)

    ทรัพยากรสารสนเทศ


  - บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ
  - บริการหนังสือสำรอง
  - บริการจองหนังสือ
  - บริการแนะนำทรัพยากรสารสนเทศใหม่
    ติดต่อได้ที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ชั้น 2
  - บริการตอบคำถามช่วยการค้นคว้า
  - บริการยืมระหว่างห้องสมุด
  - บริการนำชมและแนะนำการใช้ห้องสมุด
  - บริการสืบค้นข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์
   ติดต่อได้ที่งานบริการสารสนเทศ ชั้น 2
  - บริการห้องศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
  - บริการยืม-คืนวารสาร และสื่อมัลติมีเดีย
  - บริการหนังสือในโครงการพิเศษต่างๆ
  - บริการถ่ายสำเนาเอกสาร
   ติดต่อได้ที่ ชั้น 3
  - งานบริการโสตทัศนูปกรณ์
  - งานผลิตเอกสารกลาง
  - งานออกแบบกราฟิกและผลิตสื่อนิทรรศการ
  - งานวิจัยและพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์
  - งานผลิตสื่อวีดิทัศน์และภาพนิ่ง
   ติดต่อได้ที่ ชั้น 1
  - ฝ่ายการเรียนรู้และการศึกษาไร้พรมแดน
   Contact the 1st floor

    1. โปรดแต่งกายสุภาพ
    2. ผู้ยืมต้องมายืมด้วยตนเอง ห้ามนำบัตรของผู้อื่นมาใช้โดยเด็ดขาด
    3. ในการต่ออายุการยืมทุกครั้ง ผู้ยืมต้องนำทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการต่ออายุมาแสดง ต่อเจ้าหน้าที่ พร้อมกับบัตรอนุญาตให้ยืมทรัพยากรสารสนเทศ
    4. ผู้ยืมอาจยืมติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ในกรณีที่ผู้อื่นสั่งจองขอยืมไว้ เจ้าหน้าที่อาจงด ต่ออายุการยืม เพื่อให้ผู้สั่งจองได้ใช้สิทธิในการยืม
    5. ทรัพยากรสารสนเทศทุกรายการที่ยืมออก ผู้ใช้บริการจะต้องนำส่งตามกำหนดเวลาที่ระบุ
    6. ผู้ใช้บริการต้องตรวจสอบสภาพของทรัพยากรสารสนเทศก่อนยืมออกทุกครั้ง และต้อง รับผิดชอบในการชำรุดเสียหาย หรือสูญหายของทรัพยากรสารสนเทศที่ยืมทุกกรณี
    7. ผู้ใช้บริการไม่คืนทรัพยากรสารสนเทศตามกำหนดส่งหรือทำให้ชำรุดสูญหายจะต้อง ชำระค่าปรับ หรือชดใช้ค่าเสียหายตามที่กำหนดในประกาศมหาวิทยาลัย
    8. ผู้ใช้บริการต้องใช้ทรัพยากรสารสนเทศ ณ ที่ซึ่งจัดไว้ให้โดยเฉพาะ
    9. ผู้ใช้บริการสามารถหยิบทรัพยากรสารสนเทศจากชั้นได้เอง หรือจากการแนะนำของ เจ้าหน้าที่ เมื่อใช้เสร็จแล้วให้วางไว้บนชั้นพักทุกครั้ง








     1. สื่อสิ่งพิมพ์ (Printed Materials) ได้แก่ หนังสือตำรา หนังสือทั่วไป หนังสือสารคดี หนังสืออ้างอิง เรื่องสั้น นวนิยาย รายงานประจำปี รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ จุลสาร กฤตภาค รวมถึง สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง ได้แก่ วารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์

     2. สื่อโสตทัศน์ (Audio Visual Materials) เป็นงานบริการแบบสื่อประสม มีหลายรูปแบบที่ผู้ใช้บริการ สามารถเลือกเรียนรู้ได้ตามความสนใจ อาจจะเป็นในรูปของข้อความ เสียง รูปภาพ หรือ ภาพเคลื่อนไหว โดยผ่านประสาทสัมผัสทางหูและตา ซึ่งมีคุณค่าต่อการศึกษาและการสอน เพราะเป็นศูนย์รวมแห่งความสนใจ ช่วยให้เข้าใจในเรื่องที่ต้องการศึกษาได้รวดเร็ว จำได้นาน และเกิดการเรียนรู้อย่างมีมิติ สื่อโสตทัศน์ เป็นสื่อหรือวัสดุ ที่ผู้ใช้สามารถเลือกใช้สื่อประเภท ต่างๆ ได้ ตามที่ต้องการ ได้แก่ เทปบันทึกภาพ เทปบันทึกเสียง ดิสเก็ตท์ แผ่นซีดี-รอม เป็นต้น
     3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ 
          3.1 ฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด เป็นฐานข้อมูลบรรณานุกรมของรายการทรัพยากรสารสนเทศที่มีอยู่ในห้องสมุด สืบค้นข้อมูลจาก คอมพิวเตอร์ เรียกว่า Online Public Access Catalog หรือ OPAC ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่ห้องสมุดจัดทำขึ้นเอง
          3.2 ฐานข้อมูลออนไลน์ (Online Databases) เป็นฐานข้อมูลที่บริษัท เอกชนจัดจำหน่ายให้บริการข้อมูลแก่ห้องสมุด หรือฐานข้อมูล เชิงพาณิชย์
          3.3 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (eBook) เป็นหนังสือหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดเก็บในฐานข้อมูล เพื่อให้ผู้อ่านสามารถอ่านผ่าน เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพา
       การจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด หมายถึง การนำเอาทรัพยากรสารสนเทศมาจัด แยกประเภทของแต่ละสาขาวิชาอย่าง กว้างๆ โดยเล่มที่มีเนื้อหาเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน จัดไว้ในกลุ่มเดียวกัน โดยการแทนเนื้อหาของแต่ละเล่มด้วยตัวอักษรและตัวเลข เช่น QA76.73 C12 อ7ค 2547 เป็นต้น ซึ่งหมวดหมู่ตามระบบ LC มีดังนี้
A
    ความรู้ทั่วไป
B
    ปรัชญา จิตวิทยา ศาสนา
C
    ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์
D
    ประวัติศาสตร์ยุโรป
E-F
    ประวัติศาสตร์อเมริกา
G
    ภูมิศาสตร์ โบราณคดี นันทนาการ
H
    สังคมศาสตร์
J
    รัฐศาสตร์
K
    กฎหมาย
L
     การศึกษา
M
    ดนตรี
N
    วิจิตรศิลป์
P
    ภาษาและวรรณคดี
Q
     วิทยาศาสตร์
R
    แพทย์ศาสตร์
S
    เกษตรศาสตร์
T
    เทคโนโลยี
U
     ยุทธศาสตร์
V
    นาวิกศาสตร์
Z
    บรรณานุกรมและบรรณารักษศาสตร์
1. หนังสือภาษาไทยเก็บที่ชั้น 2 หนังสือภาษาต่างประเทศเก็บที่ชั้น 3
2. เรียงหนังสือจากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก
3. จัดเรียงหนังสือจากซ้ายไปขวาทีละช่องชั้นวางหนังสือ และเรียงจากชั้นบนลงชั้นล่าง
4. หนังสือที่เลขหมู่ซ้ำกันหรือเลขหมู่เดียวกัน จะเรียงตามอักษรย่อของชื่อผู้แต่ง หรือเลขผู้แต่ง
5. หนังสือที่มีหลายเล่มซ้ำกันจัดเรียงตามฉบับ (ฉ.) ตามลำดับน้อยไปหามาก หรือตาม copy 1 2 3 4…
6. หนังสือที่มีหลายเล่มจบจัดเรียงตามลำดับเล่มที่ ดังตัวอย่างข้างล่างนี้

HB
99.7
K522
2005
V.1
HB
99.7
K522
2005
V.1 C.2
HB
99.7
K522
2005
V.2
HB
99.7
K522
2005
V.2 C.2
นักศึกษาปริญญาตรี 
      - หนังสือทั่วไป, วิทยานิพนธ์, นวนิยาย/เรื่องสั้น สามารถยืมรวมกันได้ 10 เล่ม 10 วัน
      - วารสารฉบับย้อนหลังไม่ได้เย็บเล่ม ยืมได้ 5 เล่ม ระยะเวลาในการยืม 7 วัน
      - CD/VCD/DVD ยืมได้ 2 ชื่อเรื่อง ระยะเวลาในการยืม 3 วัน

นักศึกษาปริญญาโท - เอก, พนักงาน 
      - หนังสือทั่วไป ยืมได้ 15 เล่ม ระยะเวลาการยืม 30 วัน
      - วิทยานิพนธ์, นวนิยาย/เรื่องสั้น ระยะเวลาในการยืม 7 วัน
      - วารสารฉบับย้อนหลังไม่ได้เย็บเล่ม ยืมได้ 5 เล่ม ระยะเวลาในการยืม 7 วัน
      - CD/VCD/DVD ยืมได้ 2 ชื่อเรื่อง ระยะเวลาในการยืม 3 วัน

อาจารย์

      - หนังสือทั่วไป ยืมได้ 30 เล่ม ระยะเวลาในการยืม 1 ภาคการศึกษา
      - วิทยานิพนธ์ นวนิยาย/เรื่องสั้น ระยะเวลาในการยืม 7 วัน
      - วารสารฉบับย้อนหลังไม่ได้เย็บเล่ม ยืมได้ 5 เล่ม ระยะเวลาในการยืม 7 วัน
      - CD/VCD/DVD/ ยืมได้ 2 ชื่อเรื่อง ระยะเวลาในการยืม 3 วัน

อัตราค่าปรับ 
      - ค่าปรับเกินกำหนดส่ง คิดค่าปรับ 5 บาท ต่อเล่ม/รายการ ต่อวัน

หมายเหตุ : สมาชิกตรวจสอบข้อมูลการยืม-คืนของตนเองได้ที่ http://202.28.69.49/opac/index.aspx คลิกเลือก บริการสมาชิก

      คือบริการที่ช่วยผู้ใช้ได้รับเอกสารสิ่งพิมพ์ที่ต้องการซึ่งอยู่ในห้องสมุดอื่นๆ ใน 2 ลักษณะ คือ ยืมฉบับจริงและถ่ายสำเนาเอกสาร งานบริการ สารสนเทศ ฝ่ายบริการ จะทำหน้าที่ติดต่อขอยืมหรือถ่ายสำเนาเอกสาร เช่น บทความในวารสาร หนังสือ วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย เป็นต้น 
ติดต่อกับหน่วยงานใดบ้าง
      - ในประเทศ ได้แก่ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาที่มีข้อตกลงร่วมกัน
      - ต่างประเทศ ให้บริการสำเนาบทความวารสาร และวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม โดยขอใช้บริการผ่านศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี (TIAC)S

ตรวจสอบได้อย่างไรว่าสิ่งพิมพ์อยู่ที่ไหน 
      1.หนังสือ วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย ตรวจสอบได้จากฐานข้อมูลทรัพยากร (OPAC หรือ Library Catalog) ของแต่ละห้องสมุด ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://clm.wu.ac.th เลือกเมนูห้องสมุดอื่นๆ และเลือกห้องสมุดที่ต้องการ
      2. วารสาร ตรวจสอบได้จากฐานข้อมูลชี้แหล่งวารสารในประเทศไทย (Journal Link) ที่ http://www.journallink.or.th หรือเว็บไซต์ของ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยต่างๆ

การขอใช้บริการ
      1.ผู้ใช้บริการส่งรายละเอียดทางบรรณานุกรมของสิ่งพิมพ์ที่ต้องการมาทางอีเมล์ที่ wulibrary@gmail.com ดังนี้
          1.1 กรณีเป็นหนังสือ วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย รายละเอียดประกอบด้วย ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ปีที่พิมพ์ เลขเรียกหนังสือ จำนวนหน้า และชื่อห้องสมุดที่มีเอกสาร
          1.2 บทความในวารสาร รายละเอียดประกอบด้วย ชื่อผู้แต่ง ชื่อบทความ ชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ เลขหน้า และชื่อห้องสมุดที่มีเอกสาร
      2. ติดต่อด้วยตนเองเพื่อจ่ายค่ามัดจำ ที่งานบริการสารสนเทศ ฝ่ายบริการ ชั้น 2

อัตราค่าบริการ
      1. ในประเทศ ศูนย์บรรณสารฯ จะเรียกเก็บค่าบริการตามใบแจ้งราคาที่แนบมากับสำเนาเอกสารและบวกค่าธรรมเนียมตั๋วแลกเงิน ประมาณ 1-2 บาท
      2. ต่างประเทศ ค่าบริการบทความละ 750 บาท (ไม่จำกัดหน้า)
      3. งานบริการสารสนเทศ จะเรียกเก็บค่ามัดจำเอกสารไว้ส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นราคาที่ประมาณการ

จะมารับเอกสารได้เมื่อไร
      เมื่อได้รับคำขอใช้บริการ บรรณารักษ์จะดำเนินการส่งคำขอทันทีทาง E-mail ผู้ใช้จะได้รับเอกสารที่ขอไว้ ในประเทศประมาณ 1-14 วัน หรือประมาณ 20-30 วัน ถ้าเป็นการขอเอกสารจากต่างประเทศ

การรับเอกสาร
      1. เมื่อฝ่ายบริการได้รับเอกสารแล้ว จะแจ้งให้ผู้ใช้ทราบทางอีเมล์ โทรศัพท์และแจ้งชื่อที่ป้ายประกาศ ณ เคาน์เตอร์ยืม – คืน ชั้น 2
      2. ติดต่อขอรับเอกสารได้ที่เคาน์เตอร์ยืม – คืน ทุกวัน เวลาทำการ โทรศัพท์ 0-7567-3344
      3. ผู้ขอใช้บริการที่เป็นอาจารย์ ทางศูนย์บรรณฯ จะจัดส่งเอกสารไปให้ที่สำนักวิชาผ่านทางระบบสารบรรณฯ

เวลาในการให้บริการ
      1. ติดต่อด้วยตนเอง วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น. โทรศัพท์ 0-7567-3335, 0-7567-3344 โทรสาร 0-7567-3336
      2. แจ้งความประสงค์ขอใช้บริการผ่านทางอีเมล์ได้ตลอดเวลาที่ wulibrary@gmail.com
       ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ให้บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศระหว่าง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ หน่วยประสานงาน มหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ กรุงเทพมหานคร และศูนย์วิทยบริการสุราษฎร์ธานีเพื่ออำนวยความสะดวกแก่สมาชิกของมหาวิทยาลัย ในการใช้เอกสารประกอบ การเรียน การสอน และวิจัย
ผู้มีสิทธิขอใช้บริการ
      - นักศึกษา อาจารย์ พนักงานของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ทรัพยากรสารสนเทศที่สามารถยืมได้
      - หนังสือทั่วไป รายงานการวิจัย
      - บริการถ่ายสำเนาบทความวารสาร
ทรัพยากรสารสนเทศที่ไม่อนุญาตให้ยืม
      - หนังสืออ้างอิง
      - หนังสือพิมพ์ วารสารฉบับปัจจุบัน ฉบับเย็บเล่ม และฉบับย้อนหลัง
      - สื่อการศึกษาชนิดอื่นๆ ที่อนุญาตให้ยืมในระยะสั้น เช่น หนังสือสำรอง VCD, VDO
ใช้เวลานานกี่วัน
      - ขอยืมจากศูนย์วิทยบริการ สุราษฎร์ธานี ใช้เวลาประมาณ 1-5 วัน มีรถบริการรับ-ส่ง ทุกวันพุธและศุกร์
      - ขอยืมจากหน่วยประสานงาน กรุงเทพฯ ใช้เวลาประมาณ 1-3 วัน จัดส่งเอกสารทางรถทัวร์หรือเครื่องบิน
คิดค่าบริการเท่าไร
       - ไม่คิดค่าบริการในการยืมทรัพยากรสารสนเทศ
       - หากเป็นการถ่ายสำเนาบทความจากวารสาร คิดหน้าละ 2 บาท (ใช้อัตราค่าบริการยืมระหว่างห้องสมุด)
สิทธิการยืม 
      - ยืมได้นานเท่ากับสิทธิการยืมของแต่ละบุคคล โดยมาติดต่อขอรับทรัพยากรสารสนเทศได้ที่เคาน์เตอร์ยืม-คืน หากมารับล่าช้าเกิน 7 วัน เจ้าหน้าที่จะส่งทรัพยากรสารสนเทศคืนต้นสังกัด
ค่าปรับ
      - หากคืนหลังวันกำหนดส่ง คิดค่าปรับ 5 บาท/ รายการ / วัน
สิ่งที่ควรทำก่อนขอใช้บริการ
      - ผู้ขอใช้บริการควรตรวจสอบรายละเอียดทางบรรณานุกรม ได้แก่ ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง เลขเรียกหนังสือ สถานที่จัดเก็บ เช่น BASC, SASC เป็นต้น
การขอใช้บริการ
      - มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นครศรีธรรมราช ติดต่อขอแบบฟอร์มได้ที่เคาน์เตอร์ยืม-คืน ชั้น 2 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ โทร.0-7567-3344 e-mail : wulibrary@gmail.com
      - หน่วยประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรุงเทพมหานคร และศูนย์วิทยบริการสุราษฎร์ธานี ติดต่อขอใช้บริการได้ที่งานธุรการ
       ผู้ใช้บริการสามารถร่วมเสนอแนะ เสนอซื้อรายการทรัพยากรสารสนเทศทุกรูปแบบ เพื่อให้ห้องสมุดพิจารณาและดำเนินการจัดหาไว้ให้บริการ ในศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา โดยกรอกรายละเอียดของรายการสื่อความรู้ที่ท่านสนใจและต้องการ ผ่านเว็บไซต์ที่ http://202.28.69.49/ opac/index.aspx คลิกเลือกเมนูงานจัดซื้อจัดหา และกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ท่านสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บรรณารักษ์งานจัดหา โทรศัพท์ภายใน 3339

eBook คืออะไร
       หนังสือหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดเก็บในฐานข้อมูล เพื่อให้ผู้อ่านสามารถอ่านผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พกพาอื่นๆ
eBook ดีสำหรับท่านอย่างไร
      1. ใช้ได้จากทางไกลผ่านเว็บไซต์ของศูนย์บรรณสารฯ โดยไม่ต้องเดินทางไปห้องสมุด
      2. อ่านได้ตลอด 24 ชั่วโมง
      3. สามารถอ่าน พิมพ์ บันทึกข้อมูลได้
eBook มีเนื้อหาอะไรบ้าง
       ครอบคลุมเนื้อหาทุกสำนักวิชา ท่านจะได้เอกสารเต็มรูปของหนังสือ
ท่านสามารถใช้ eBook ได้อย่างไร 
       นักศึกษา อาจารย์ และพนักงานทุกคนของมหาวิทยาลัยสามารถเข้าใช้ eBook ผ่านเว็บไซต์ของศูนย์บรรณสารฯ
มีขั้นตอนการใช้อย่างไร
      1. ไปที่เว็บไซต์ของศูนย์บรรณสาร http://clm.wu.ac.th
      2. คลิกที่เมนูหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (eBooks)
      3. เลือกฐานข้อมูลที่ต้องการ ได้แก่
         - NetLibrary มีเนื้อหาครอบคลุมทุกสาขาวิชา
         - SpringerLink มีเนื้อหาครอบคลุมทุกสาขาวิชา
         - PDF Dissertation fulltext เป็นวิทยานิพนธ์ มีเนื้อหาครอบคลุมทุกสาขาวิชา
      4. ใส่คำค้น ได้แก่ ชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ คำสำคัญ
      5. ดูเนื้อหาเต็ม (Fulltext)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ 
      ฝ่ายบริการ โทรศัพท์ 0-7567-3335, 0-7567-3344 อีเมล์ wulibrary@gmail.com
บริการ EDD
       
Electronic Document Delivery (EDD) จัดให้บริการ แก่อาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรที่สนใจ เพื่อขอรับสำเนาบทความวารสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่มีอยู่ในศูนย์บรรณสารฯ โดยการจัดส่งข้อมูลในลักษณะ PDF File
ขั้นตอนการขอใช้บริการ EDD
      
1. ผู้ขอใช้บริการตรวจสอบรายการวารสารก่อนขอรับบริการได้จากเว็บไซต์ http://202.28.69.49/opac/Journals/Keyword.aspx
      2. แจ้งรายละเอียดของเอกสารที่ต้องการ ได้แก่ ชื่อผู้แต่ง ชื่อบทความ ชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ เลขหน้า มายังอีเมล์ wulibrary@gmail.com หรือติดต่องานบริการสารสนเทศที่โทรศัพท์ 0-7567-3335
      3. แจ้งชื่อ นามสกุล โทรศัพท์ สำนักวิชา/หน่วยงานที่ท่านสังกัดมาในอีเมล์ด้วย
      4. รอรับไฟล์เอกสารในลักษณะ PDF File ประมาณ 3 วันทำการ





แหล่งที่มา : http://clm.wu.ac.th/ และ : http://clm.wu.ac.th/library_service.php#top



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น